วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โองโมงค์ธรรมศุทธิ

โองโมงค์ธรรมศุทธิจังหวัดตาก

ประวัติความเป็นมา

         อุโมงเนินธรรมสุทธิ (ชาวบ้าน เรียกว่า โองโมงค์) อยู่ในความดูแลของวัดเกาะลาน ตั้งอยู่ที่ตำบลสมอโคน หมู่ 3 อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก นักโบราณคดีฝ่ายวิชาการคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 5 จังหวัดสุโขทัย กรมศิลปากรกล่าวว่ารูปแบบ สถาปัตยกรรม ของโองโมงค์ธรรมศุทธิ เท่าที่ทราบยังไม่พบที่ใดในประเทศไทย ปัจจุบันกรมศิลปากร ได้จดทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานมีเนื้อที่ 5 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 37 ง ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 หน้า 6 ลักษณะของโองโมงค์ธรรมศุทธิ เป็นสิ่งก่อสร้างทำด้วยอิฐ และฉาบด้วยดินเผามีรูปร่างคล้ายอุโมงค์สูงประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 1.20 เมตร และยาวประมาณ 2.40 เมตร มีช่องทางเข้าออกด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังก่ออิฐทึบมีช่องระบายอากาศ เป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 1 ช่อง บนหลังคาก่อเป็นรูปทรงใบเสมาเป็นเหลี่ยมและตกแต่งลวดลายประดับไว้ทั้งหมด 25 หลัง ระยะห่างกันประมาณ 0.80 เมตร สร้างในแนวลักษณะของครึ่งวงกลมบนเนินธรรมศุทธิภายในโองโมง มีพื้นที่เหมาะสำหรับบุคคลที่จะอาศัยได้เพียงคนเดียว จากข้อความที่จารึกบนแผ่นกระดานชนวนอ่านโดยพระครูคัมภีร์ธรรมโมภาส เจ้าอาวาสวัดเกาะลาน ซึ่งเป็นตัวเลข และตัวอักษรล้านนา แปลได้ความว่า " ได้สร้างอุทิศให้...(อ่านไม่ออกเนื่องจากตัวหนังสือลบเลือน)...ไว้เมื่อ พ.ศ.2448 " โองโมงค์ธรรมศุทธิแห่งนี้ ได้สร้างในสมัยครูบาสุยะต๋า เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในสมัยนั้น ได้มีการสร้างพระธาตุขนาดเล็ก ภายในบรรจุพระสกุลลำพูน แต่ถูกพวกมิจฉาชีพขโมยไป และถูกไพไหม้เสียหายหมดจึงไม่เหลือซากให้เห็นวัตถุประสงค์ในการสร้างโองโมงค์ธรรมศุทธิ คือ " การเข้าปริวาสกรรม " ประเพณีการเข้าปริวาสกรรมได้เลือนหายไป เนื่องจากถนนได้ตัดผ่าน ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานที่แห่งนี้ทำให้ไม่มีความสงบพอที่จะปฏิบัติธรรมได้ ปัจจุบันเป็นสถานที่พักชั่วคราวของพระสงฆ์ที่ธุดงค์ผ่านมา และชาวบ้านได้ร่วมใจกันรื้อฟื้นประเพณีเข้าปริวาสกรรม เพื่อให้อยู่คู่กับสถานที่แห่งนี้ตลอดไป


         ลักษณะของโองโมงค์ธรรมศุทธิ เป็นสิ่งก่อสร้างทำด้วยอิฐ และฉาบด้วยดินเผามีรูปร่างคล้ายอุโมงค์สูงประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 1.20 เมตร และยาวประมาณ 2.40 เมตร มีช่องทางเข้าออกด้านหน้าด้านเดียว ด้านหลังก่ออิฐทึบมีช่องระบายอากาศ เป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ 1 ช่อง บนหลังคาก่อเป็นรูปทรงใบเสมาเป็นเหลี่ยมและตกแต่งลวดลายประดับไว้ทั้งหมด 25 หลัง ระยะห่างกันประมาณ 0.80 เมตร สร้างในแนวลักษณะของครึ่งวงกลมบนเนินธรรมศุทธิภายในโองโมง มีพื้นที่เหมาะสำหรับบุคคลที่จะอาศัยได้เพียงคนเดียว


ที่มาข้อมูล/รูปภาพ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น